อิฐแดง หรือ อิฐมวลเบา!?! ดีกว่ากันน๊าา
ลองมาดูรายละเอียดการใช้งานของอิฐแต่ละประเภท กับขั้นตอนการทำงานของ แต่ละประเภทดูกันเถอะ
อิฐ เป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐานสำหรับการก่อสร้างอาคารทั่วไป อิฐแบบธรรมดาผลิตจากส่วนผสมของดินเหนียว ทราย แกลบ และน้ำ สำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุพิเศษเพิ่มเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน
การผลิตอิฐโดยทั่วไป จะผสม ดินเหนียว แกลบ และ น้ำ นวดให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว กดใส่ลงในแบบพิมพ์ แล้วนำเข้าเตาเผา สำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุเพิ่ม เช่น หินเกร็ด สำหรับอิฐประดับ เป็นต้น
นอกจากนี้อิฐพิเศษบางประเภทอาจใช้กรรมวิธีการอัดเข้าแม่พิมพ์ด้วยแรงกดสูงเพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการป้องกันความร้อน และทนทานนานนับร้อยปี
สีส้มแดงของก้อนอิฐ คือเสน่ห์อย่างหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมที่จะถูกหยิบยกเอามาใช้ แม้จะเป็นงานก่อสร้างที่ถูกใช้มายาวนานหลายร้อยปี แต่สีสันเหล่านี้คือกลิ่นอายความสวยงามที่ดูคลาสสิคและให้ความรู้สงบเย็น ความเรียบง่ายที่แฝงเอาไว้ในตัวงานกำลังบอกเล่าเรื่องราวให้ผู้พักอาศัยได้ลิ้มรสอันหอมหวาน
การตกแต่งเหล่านี้จึงถูกหยิบยกนำมาใช้ในการแต่งบ้านสมัยใหม่กันมากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ และหากใครกำลังเป็นแฟนพันธุ์แท้กับการแต่งเติมบ้านอิฐ เรามีคำแนะนำดีๆ ที่คุณไม่ควรพลาด เพื่อให้บ้านเป็นสถานที่ๆ สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นค่ะ
ชนิดของอิฐในปัจจุบัน
หากเป็นในอดีต เราก็คงจะนึกได้ถึงแค่เจ้าก้อนอิฐสีส้มๆ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีลักษณะของอิฐมากมายที่ถูกนำมาใช้งาน และมีสีสันแตกต่างกันออกไป ทั้งประโยชน์ ความคงทน และคุณสมบัติ
อิฐขาว
ก้อนอิฐสีขาวที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างทรายและปูนขาวเข้าด้วยกัน มีความแข็งแรงและทนทานเป็นอย่างมาก นิยมใช้ในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา การผลิตจะถูกอัดด้วยเครื่องแรงดันสูงก่อนจะอบด้วยไอน้ำ ถือว่าเป็นก้อนอิฐยุคใหม่ ทันสมัย และมั่นใจในการใช้งาน
อิฐบล็อก
ผสมผสานระหว่างปูนซีเมนต์และทราย แน่นอนว่าอิฐชนิดนี้มีราคาถูก ความแข็งแรงต่ำเนื่องจากเต็มไปด้วยรูพรุนมากมาย ทำให้ความชื้นซึมผ่านเข้าได้ง่าย มีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ไม่ค่อยนิยมนำมาใช้ในการรับน้ำหนัก
อิฐมอญ
อิฐที่มีกระบวนการผลิตด้วยการเผาตามภูมิปัญญาชาวบ้าน สีสันที่ได้มีความคลาสสิค สวยงาม มีราคาแพงและคงทนกว่าอิฐบล็อกหลายเท่า เกิดจากการใช้ดินเหนียวเป็นส่วนผสมหลักร่วมกับส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการยึดเหนี่ยวที่แน่นหนา ผ่านการนวด พิมพ์ขึ้นรูป ตากแห้ง และนำไปเผาด้วยอุณหภูมิสูง มีตั้งแต่แบบก้อนกลวงตรงกลางและแบบตันทั้งก้อนให้เลือกใช้
อิฐมวลเบา
อิฐที่เกิดจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ ผลิตโดยใช้ปูนซีเมนต์เป็นส่วนผสมหลัก ผสมด้วยปูนขาว น้ำ ยิปซัม ทราย และสารพิเศษเพื่อให้ฟองอากาศเกิดการกระจายตัว ขนาดของก้อนอิฐมีความเท่ากันทุกก้อนด้วยกระบวนการอัดแท่งด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง มีความเบา ทนไฟ ความร้อน เสียง และช่วยป้องกันไม่ให้โครงสร้างต้องรับน้ำหนักมากเกินไป
ดังนั้น การใช้งานของอิฐแต่ละชนิดที่กล่าวมาข้างต้น ย่อมมีความแตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน โดยทั่วไปขึ้นอยู่กับงบประมาณในการก่อสร้างเป็นหลัก ส่วนความคุ้มค่าก็ย่อมแปรผันตรงกับราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเองค่ะ
การก่ออิฐ เป็นการจัดเรียงแผ่นอิฐเพื่อให้เกิดรูปทรงเป็นผนังตามที่ต้องการ โดยใช้วัสดุประสานระหว่างอิฐ นั่นคือปูนซีเมนต์ผสม หรือปูนซีเมนต์สำเร็จรูปสำหรับงานก่อ
สำหรับการเตรียมการทำงานก่อและอุปกรณ์ มีดังนี้
วัสดุและอุปกรณ์
- ปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อ สำหรับอิฐมอญ(อิฐแดง) อิฐบล็อค(คอนกรีตบล็อค) และอิฐมวลเบาเทียม (อิฐมวลเบาชนิดไม่อบไอน้ำ)
- เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท (ผสมร่วมกับทรายหยาบตามอัตราส่วนหลังถุง) ดูเพิ่มเติม
- เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ก่อทั่วไป (ผสมน้ำใช้ได้ทันที) ดูเพิ่มเติม
สำหรับอิฐมวลเบา
-เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ก่ออิฐมวลเบา (ผสมน้ำใช้ได้ทันที) ดูเพิ่มเติม
- เกียงใบโพธิ์ หรือเกียงก่อ
- อุปกรณ์ผสมปูน
- กระบะผสมปูน เมื่อใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท และ เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ก่อทั่วไป โดยใช้ จอบ ในการผสม
- ถังผสมปูน เมื่อใช้ เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ก่ออิฐมวลเบา โดยใช้ สว่านติดใบกวน ในการผสม
- ถังปูน
- อิฐมอญ, อิฐบล็อค, อิฐมวลเบา, อิฐมวลเบาเทียม ขึ้นกับความต้องการของเจ้าของบ้าน
แนวการจัดเรียงอิฐ โดยทั่วไปนั้น นิยมการก่อแบบเรียงอิฐเป็นแถวเดียว สลับรอยต่อระหว่างแผ่นอิฐเป็นชั้น ๆ ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า การก่อแบบ ? แผ่นอิฐ หรือ ครึ่งแผ่นอิฐ แต่ทั้งนี้ยังมีวิธีการอื่น ๆ ซึ่งให้ความแข็งแรงที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ใช้วัสดุมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้การเลือกรูปแบบการก่ออิฐ ควรคำนึงถึงการรับน้ำหนักของผนังอาคาร หากต้องการรับน้ำหนักไม่มากนัก สามารถเลือกการก่อแบบ ? แผ่นอิฐได้ แต่จะพบว่ามีอาคารบางประเภทที่ก่อด้วยวิธีการแบบ 1 แผ่นอิฐ หรือ เต็มแผ่นอิฐ เช่นเดียวกัน
สิ่งที่มักเกิดขึ้นกับการก่อโดยทั่วไปคือ การก่อมักจะละเลยการวางแนวดิ่งและแนวระดับที่ชัดเจนทำให้ผนังโก่งโย้ สิ่งนี้จะส่งผลให้การฉาบปูนเกิดความสิ้นเปลือง และส่งผลต่อความสวยงามของผนังได้เช่นเดียวกัน
การผสมและทราย
ทรายที่นิยมนำมาผสมร่วมกับปูนซีเมนต์ผสม อย่าง “เสือ ซีเมนต์ ก่อ ฉาบ เท” จะเป็นทรายหยาบที่เป็นทรายน้ำจืด สามารถรอดผ่านตะแกรงขนาด 4.75 มิลลิเมตร ลักษณะเม็ดมีเหลี่ยมมุม ไม่ควรแบนหรือเรียวยาว เพราะจะทำให้เนื้อปูนไม่ยึดเกาะ ปราศจากวัสดุเจือปน เช่น เศษไม้ เมล็ดพืช ซากพืช เปลือกหอย หรือสารเคมีเจือปนอื่น ๆ
หรือเลือกใช้ “เสือ มอร์ตาร์ ก่อทั่วไป” หรือ “เสือ มอร์ตาร์ ก่ออิฐมวลเบา” สำหรับการก่อโดยไม่ต้องผสมทรายเพิ่ม โดยปูนชนิดดังกล่าวเป็นปูนซีเมนต์สำเร็จรูปที่คัดสรรวัตถุดิบประเภทวัสดุเฉื่อยที่ใช้ทดแทนทราย อย่างหินบดละเอียด คัดขนาดและเหลี่ยมมุมให้เหมาะสมกับงาน ผสมมาให้แล้วในถุงตามสัดส่วนที่ถูกต้อง
ขั้นตอนการก่อ
- ทำความสะอาดพื้นที่ที่ต้องการก่อ ไม่ควรมีเศษขยะ ฝุ่น หรือวัสดุชนิดอื่นอยู่บริเวณที่ทำงาน
- ตรวจสอบระยะและแนวที่จะก่อว่าตรงตามแบบทางวิศวกรรม ได้แนวดิ่งและฉาก
- ขึงเอ็นแนวนอนและแนวดิง เพื่อเป็นการหมายระยะในการก่อ ให้ผนังที่ได้ออกมาตรง ได้ฉาก
- รดน้ำอิฐ หรือแช่น้ำอิฐก่อนการก่อ เพื่อให้อิฐมีการดูดน้ำระดับหนึ่ง ป้องกันการแย่งน้ำจากเนื้อปูนเมื่อนำไปก่อ ข้อควรระวังคือ… ไม่ควรใช้อิฐที่เปียกชุ่มมาก่อโดยทันที ให้ทิ้งไว้ให้ผิวอิฐหมาด แต่มีความชื้นอยู่ด้านใน หากเป็นอิฐบล็อคให้ระวังน้ำขังในร่องรูพิมพ์ด้วย
- เริ่มก่อจากมุมเสาด้านล่าง ด้านใดด้านหนึ่งก่อน โดยที่ชั้นแรกของการก่อ ให้รองด้วยปูนหนาประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร สลับเป็นขั้นบันใดขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยชั้นปูนก่อทุกชั้นให้มีความหนาประมาณ 1.5 – 2 เซนติเมตร ยกเว้นอิฐมวลเบา ที่ต้องใช้เกียงมือเสือ ในการปาดปูนบาง ๆ เพียง 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น และควรกระทุ้งก้อนอิฐเบา ๆ ให้มีการยึดเกาะระหว่างอิฐแต่ละก้อน และปาดเนื้อปูนที่ล้นออกด้านข้าง นำกลับไปใช้ก่อต่อไปได้
- ตรวจสอบระดับตามระนาบและดิ่งทุก ๆ 3-5 ชั้น ด้วยเส้นเอ็นที่ขึงไว้ และการวัดระดับน้ำ การก่อที่เอนเอียงจะส่งผลต่อความแข็งแรง และสิ้นเปลืองปูนเมื่อฉาบ
- เสียบเหล็กหนวดกุ้งขนาด 6 มิลลิเมตรยาวประมาณ 50 เซนติเมตร เข้ากับเสา ให้มีส่วนยื่นออกมา 30-40 เซนติเมตรทุก ๆ ความสูงที่ก่อประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร เพื่อความแข็งแรงของผนัง
สำหรับอิฐบล็อคนั้น อาจใช้เหล็กเส้นกลมแต่ควรมีการเสริมแรงทั้งแนวดิงและนวราบ โดยเหล็กเสริมแนวดิ่งอาจไม่สูงไปกว่า 1.2 เมตร เพื่อสะดวกในการทำงาน
สำหรับอิฐมวลเบา จะมีแผ่นเหล็กสำหรับยึดอิฐกับเสา สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากผู้จำหน่ายอิฐมวลเบา
- การทำเสาเอ็นและคานทับหลัง ควรทำเมื่อก่อได้ความยาวและสูงตามที่แสดงในภาพ เพื่อเป็นการรับน้ำหนักของผนังส่วนถัดไป ด้วยการหล่อขึ้นจากคอนกรีต เสริมเหล็กเพื่อความแข็งแรง
ทั้งนี้หากเจาะช่องหน้าต่างหรือประตู ก็ควรมีการหล่อเอ็นเช่นเดียวกัน โดยสามารถจัดวางวงกบประตูก่อนวางแบบหล่อได้
- ไม่ก่อจนชนท้องคาน เนื่องจากปูนก่อจะมีการยุบตัวหลังก่อไปแล้ว 1 – 2 วัน เมื่อปูนรับน้ำหนักของอิฐด้านบนไปแล้วระยะหนึ่ง ทั้งนี้เว้นช่องไว้ประมาณ 10 เซนติเมตร ก่อนอุดด้วยอิฐเรียงตามลักษณะดังภาพ
- บ่มผนังให้ชื้นเพียงพอ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เนื่องจากความแข็งแรงของงานปูนจะขึ้นอยู่กับการเลี้ยงน้ำไม่ให้เนื้อปูนเสียน้ำเร็วจนเกินไป ช่วยลดปัญหาแตกร้าวได้โดยตรง
เมื่อก่ออิฐไปแล้ว 24 ชั่วโมง ให้กลับมาบ่มน้ำ ด้วยการรดน้ำสะอาดบนผิวผนังให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ต่อไปอีก 3 – 7 วัน โดยหากอากาศแห้ง มีลมพัด หรือสัมผัสแดดแรงจ้า ให้เพิ่มการรดน้ำเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน และเพิ่มระยะเวลาการรดน้ำออกไปจนครบ 1 สัปดาห์
เทคนิคเพิ่มเติมหากมีการก่ออิฐในบริเวณแดดลมแรง จะต้องมีการขึงผ้าใบเพื่อลดการสัมผัสกับอากาศที่จะพัดความชื้นออกจากผนังเร็วเกินไป เพื่อให้ผนังที่ได้แข็งแรงทนทานไม่แตกร้าวโดยง่าย